ค่าเงินบาทแตะ 34.66 บาท ระวังความผันผวน มีปัจจัยต่างประเทศให้ติดตาม
ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 23 ก.พ. 66 ที่ระดับ 34.66 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 34.60 บาทต่อดอลลาร์ โดยมองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.55-34.75 บาทต่อดอลลาร์
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า รายงานการประชุมเฟดล่าสุด (FOMC Meeting Minutes) ยังคงสะท้อนถึงจุดยืนและความมุ่งมั่นของเฟดในการคุมปัญหาเงินเฟ้อ ด้วยการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง (โดยมีคณะกรรมการเฟดบางท่านยังคงสนับสนุนการเร่งขึ้นดอกเบี้ย +0.50%) ซึ่งท่าทีดังกล่าวของเฟด แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผู้เล่นในตลาดต่างทยอยรับรู้ แต่ก็ยังคงกดดันให้ ในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐ ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากนัก ส่งผลให้ ดัชนี S&P500 เคลื่อนไหวผันผวน ก่อนที่จะปิดตลาด -0.16%
ในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ยังคงปรับตัวลดลงต่อราว -0.33% ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของบรรดาธนาคารกลางหลัก ทั้งเฟดและธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งความกังวลดังกล่าว ยังคงกดดันให้หุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง (Adyen -2.7%, ASML -0.7%) ทั้งนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนอยู่บ้างจากการรีบาวด์ขึ้นของหุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม (Diageo +3.0%, Hermes +1.0%) ท่ามกลางความหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน
ส่วนทางด้านตลาดบอนด์ ท่าทีของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดซึ่งยังคงสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง จากรายงานการประชุมเฟดล่าสุด นั้นไม่ได้แตกต่างไปจากสิ่งที่ผู้เล่นในตลาดทยอยรับรู้ ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ แกว่งตัว sideways และย่อตัวลงเล็กน้อยสู่ระดับ 3.92% อนึ่ง เรามองว่า การปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ นั้นเป็นไปตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เชื่อว่าเฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง จนแตะระดับ 5.50% หรือสูงกว่านั้น ทำให้เราประเมินว่า ในระยะถัดไป แม้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ อาจมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ แต่ก็อาจจะไม่รุนแรง ยกเว้นตลาดกังวลการ “เร่งขึ้น” ดอกเบี้ยของเฟด หรือมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามา ทำให้เราคงมุมมองเดิมว่า จังหวะบอนด์ยีลด์ ปรับตัวสูงขึ้น จะเปิดโอกาสในการทยอยเข้าซื้อบอนด์ระยะยาวได้ (Buy on Dip)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หนุนโดยแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟดและความต้องการถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven asset) โดยล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ได้ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 104.5 จุด ส่วนในฝั่งราคาทองคำ การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ จากแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟด ได้กดดันให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) ยังไม่สามารถผ่านโซน 1,850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนที่จะย่อตัวลงต่อเนื่องสู่ระดับ 1,832 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เราคาดว่า การย่อตัวลงของราคาทองคำจะยังคงหนุนให้ผู้เล่นในตลาดทยอยเข้าซื้อในจังหวะย่อตัว ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนที่กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้
สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ ผ่านรายงานข้อมูลยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกและการว่างงานต่อเนื่อง (Initial & Continuing Jobless Claims) ซึ่งจะช่วยสะท้อนภาวะตลาดแรงงานสหรัฐ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟดว่าจะขึ้นไปถึงระดับใดคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ รวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดดังกล่าว มองว่า ในระยะสั้น ควรจับตาสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่อาจกลับมาร้อนแรงได้ (รัสเซียอาจเปิดฉากบุกโจมตียูเครนครั้งใหญ่อีกรอบ)
ขณะที่แนวโน้มค่าเงินบาท มองว่า การอ่อนค่าลงของเงินบาทยังคงมาจากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ รวมถึงโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัวและแรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งประเมินว่า ปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าดังกล่าวจะยังคงมีอยู่ในระยะสั้นนี้ (อย่างน้อยจนกว่าตลาดจะเลิกหรือคลายกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟด) ทำให้ เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideways และอาจเข้าใกล้โซนแนวต้าน 34.70-34.75 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นโซนราคาที่ ผู้เล่นในตลาดบางส่วน ที่เป็นฝั่ง Long USDTHB (เชื่อว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง) รอทยอยขายทำกำไรอยู่
นอกจากนี้ มองว่า หากไม่มีปัจจัยเพิ่มเติม เงินบาทอาจแกว่งตัวในกรอบ sideways เนื่องจากผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐ ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งคาดว่าจะเห็นการเคลื่อนไหวของตลาดค่าเงินที่ชัดเจนมากขึ้น หลังตลาดทยอยรับรู้อัตราเงินเฟ้อ PCE อย่างไรก็ดี ในระยะสั้น มองว่า ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มองข้ามไม่ได้และอาจสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินในช่วงนี้ได้