ฟันธงปี 66 อุตสาหกรรมโตต่อ เดินหน้าดึงทุกภาคส่วนใช้นวัตกรรมปรับธุรกิจ
นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานงานประจำปีโอไออี ฟอรั่ม 2022 วิกฤติพลิกโอกาสใหม่ของอุตสาหกรรมไทย จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ว่า อุตสาหกรรมไทย ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ เพื่อรองรับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและซับซ้อนมาก โดยการขับเคลื่อนระยะต่อไป ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯได้เร่งดำเนินนโยบายนำนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม เพื่อยกระดับภาคเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะและอุตสาหกรรมก้าวสู่ 4.0 เพื่อความยั่งยืนทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ต้องสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในภาคเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตรและยกระดับไปสู่ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมเกษตรแปรรูป นำอินเตอร์ ออฟ ทิงส์ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการการผลิต การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมชีวภาพ แปรรูปอาหาร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ การแพทย์ครบวงจรคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ในปี 66 คาดว่า หลายอุตสาหกรรมจะฟื้นตัวตามอุปสงค์ในประเทศ และต่างประเทศหลังโควิด-19 คลี่คลาย และเชื่อว่า ปีหน้าภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวตัวดีขึ้นมากกว่าปีนี้ โดยประมาณการณ์ขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรม หรือจีดีพี ภาคอุตฯ ขยายตัวสูงกว่าปีนี้ ที่คาดว่า ขยายตัว 2-3% ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือเอ็มพีไอ คาดว่า ขยายตัวสูงกว่าปีนี้ที่ประมาณการณ์ว่า ขยายตัว 1.5-2.5% สิ่งสำคัญภาคอุตสาหกรรม ต้องปรับตัวรองรับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในระยะต่อไป กระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงเดินหน้าผลักดันการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญอย่างต่อเนื่อง อาทิการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะโดยสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในภาคเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตรและยกระดับไปสู่ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมเกษตรแปรรูป นำInternet of Things (IoT)มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการการผลิตการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศ เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมชีวภาพ แปรรูปอาหาร หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ การแพทย์ครบวงจร ผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.)
การพัฒนาผู้ประกอบการและภาคการผลิตไปสู่ 4.0 สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะ ส่งเสริม SMEs และวิสาหกิจชุมชนให้มีผลิตภาพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัล ควบคู่ไปกับการเพิ่มโอกาสทางการตลาด และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการทุกระดับ การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาคมโลก ผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG การพัฒนาอุตสาหกรรมในมิติพื้นที่ เพื่อกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาให้ทั่วถึงและครอบคลุม โดยพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่พัฒนาพิเศษตามนโยบายรัฐบาล และการยกระดับการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการที่สะดวกและรวดเร็ว บูรณาการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวว่า ภาคการผลิตและอุตสาหกรรมได้ปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง แต่หลายเรื่องก็เป็นปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ทำให้ต้นทุนพลังงานและการผลิตต่างๆ สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าที่ไทย หากเทียบคู่แข่งกับเวียดนามยังคงสูงกว่า ส่งผลให้บั่นทอนขีดความสามารถทางการแข่งขันในระยะต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้จะขยายตัวได้ 2.75-3.5% เนื่องจากได้รับผลบวกจากการท่องเที่ยวที่จะมีมากขึ้น แต่ยังคงต้องติดตามเศรษฐกิจโลกใกล้ชิดว่าอาจจะเกิดการถดถอยที่จะบั่นทอนในช่วงที่เหลือได้